วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

บทความ e-Learning

บทความ e-Learning


บทนำ



ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน การถ่ายทอดความรู้ เป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยอาจจะนับได้ว่า จุดเริ่มต้นตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แทนที่เอกสารหนังสือ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง

ความหมาย การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง นี้ ถูกเรียกว่า E-Learning ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้ หลากหลาย ดังนี้:

Bank of America Securities: eLearning คือการมาบรรจบกันของการเรียนและอินเทอร์เน็ต

Cornelia Weggen, WR Hambrecht & Co: eLearning [คือ] การส่งเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคทั้งมวล ซึ่งหมายรวมถึงอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต ดาวเทียม วิทยุโทรทัศน์ ออดีโอ/วิดีโอเทป TV แบบโต้ตอบ และ CD-ROM

Elliott Masie, The Masie Center: eLearning คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อออกแบบ นำส่ง เลือกบริหารจัดการและขยายขอบเขตของ การเรียนออกไป

Arista Knowledge Systems: eLearning คือการใช้พลานุภาพของเครือข่ายเพื่อให้การเรียนเกิดขึ้นได้ในทุกเวลา ทุกสถานที่

Thailand Securities Institute (TSI): E เป็นอักษรย่อของคำว่า Electronics (อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า Learning ที่แปลว่า การเรียนรู้ ก็จะได้คำจำกัดความของ E-Learning คือ ระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอน ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ วิดีโอ ซีดีรอม ระบบดาวเทียม ระบบ LAN และ Internet

Krutus (2000) กล่าวว่า \"e-Learning เป็นรูปแบบของเนื้อหาสาระที่สร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูป ที่อาจใช้ซีดีรอม เป็นสื่อกลางในการส่งผ่าน หรือใช้การส่งผ่านเครือข่ายภายใน หรืออินเทอร์เน็ต ทั้งนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยการฝึกอบรม (Computer Based Training: CBT) และการใช้เว็บเพื่อการฝึกอบรม (Web Based Training: WBT) หรือการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้\"

Campbell (1999) ได้ให้ความหมายว่า \"e-Learning เป็นการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สร้างการศึกษาที่มีปฏิสัมพันธ์ และการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ที่ผู้คนทั่วโลกมีความสะดวก และสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำกัดสถานที่และเวลา เป็นการเปิดประตูการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชากร\"

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์: e-Learning คือการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD-ROM)

อ.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (SriThai.com): e-Learning คือ การเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง World Wide Web ซึ่งผู้เรียนและผู้สอน ใช้เป็นช่องทาง ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำกัด ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมหรือแบบฝึกปฏิบัติต่างๆ แบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกอยู่ใน WWW เป็นการเรียนการสอนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะไม่มีขีดจำกัดเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ อีกทั้งยังสนองตอบต่อศักยภาพและความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทชได้ให้คำจำกัดความของ e-Learning ดังนี้

\"การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)\"

ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ลักษณะ คือ

• ลักษณะแรก e-Learning หมายถึง การเรียนเนื้อหา หรือสารสนเทศสำหรบการสอน หรือการ อบรม ซึ่งใช้การนำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งใช้เทคโนโลยีการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนต่างๆ …..

• ลักษณะที่สอง e-Learning คือ การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณดาวเทียม

concept ของ e-Learning จึงน่าจะหมายถึง

การเรียนที่มีลักษณะเป็นการเรียนทางไกล เป็นออนไลน์และสามารถใช้สื่อ การสอนในรูปของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กทราเน็ต โทรทัศน์ ดาวเทียม ซีดีรอม หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยเฉพาะ การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการบริการด้านเว็บเพจเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนมาออกแบบ จัดระบบการถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน และสามารถสอบวัดผลได้ ซึ่งผู้สอบผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดจะได้รับการรับรองความรู้เทียบเท่ากับผู้ที่เรียนในชั้นเรียนตามปกติ

โดยองค์ประกอบที่สำคัญคือ เป็นการเรียนการสอนที่ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องเห็นหน้ากันไม่จำเป็นต้องโต้ตอบกันในขณะเรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียน แต่สามารถสื่อสารกันทางเครือข่ายของการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไม่จำกัด ทั้งเวลา และ สถานที่



ทั้งนี้สามารถแบ่งยุคของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้

• ยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม (Instructor Led Training Era) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา จนถึงปี ค.ศ. 1983

• ยุคมัลติมีเดีย (Multimedia Era) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1984-1993 ตรงกับช่วงที่มีการใช้ e-Microsoft Windows 3.1อย่างกว้างขวาง มีการใช้ซีดีรอมในการเก็บบันทึกข้อมูล มีการใช้โปรแกรม PowerPoint สร้างสื่อนำเสนอ ทั้งทางธุรกิจ และการศึกษา โดยนำมาประยุกต์สร้างสื่อการสอน บทเรียน พร้อมบันทึกในแผ่นซีดี สามารถนำไปใช้สอนและเรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่มีความสะดวก

• ยุคเว็บเริ่มต้น (Web Infancy) อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1994-1999มีการนำเทคโนโลยีเว็บเข้ามาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ต มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเว็บสร้างบทเรียนช่วยสอนและฝึกอบรม รวมทั้งเทคโนโลยีมัลติมีเดียบนเว็บ

• ยุคเว็บใหม่ (Next Generation Web) เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป มีการนำสื่อข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ มาประยุกต์สร้างบทเรียน เป็นการก้าวสู่ระบบ e-Learning อย่างแท้จริง

ลักษณะสำคัญของ e-Learning

ปัจจุบัน e-Learning ได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-Learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ e-Learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-Learning ได้ดังนี้

• Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน เพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด24 ชั่วโมง รวมทั้งบริการจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ในลักษณะ Offline ให้กับโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่สนใจ แต่ยังไม่พร้อมในระบบอินเทอร์เน็ต

• Multimedia สื่อที่นำเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

• Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ



ทฤษฏีการเรียนที่นำมาใช้ใน e-Learning

มีผู้วิจัยเกี่ยวกับทฤษฏีการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านเว็บ ไว้ดังนี้

• การเรียนรู้โดยการค้นแบบ - การเรียนการสอนผ่านเว็บ นับได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของทฤษฏีการค้นพบของ Brooner เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั่วโลก

• ทฤษฏีการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง - การเรียนการสอนผ่านเว็บ ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบตนเอง นำตัวเอง ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

• ทฤษฏีการสอนรายบุคคล - เนื่องจากผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอิสระเลือกเนื้อหา เวลา และกิจกรรม ซึ่งเป็นรูปแบบของผู้เรียนเฉพาะราย

• ทฤษฏีการสอนแบบร่วมมือ (Collaborative Learning) เน้นว่าผู้เรียนมีอิสระในการเรียน แต่ด้วยเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น e-Learning-Mail, Web board, Chat, Newsgroup) ทำให้ผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อนร่วมเรียน ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มีส่วนร่วมกันและกันในการเรียนได้ เช่น ช่วยในการตั้งคำถาม ชี้แนะแนวทางการหาคำตอบเป็นต้น

• รูปแบบการสอนของกาเย (Gagne) การเรียนการสอนผ่านเว็บ นับได้ว่ามีรูปแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนของกาเย ได้แก่

o สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน

o แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน

o กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่

o เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม

o ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ

o กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ

o ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

o การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์

o ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน

ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ จึงมีความยืดหยุ่นสูง ผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากกว่าปกติ มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ ตรงกับระบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้แนะนำ ที่ปรึกษา และแนะนำแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน

การจัดทำ e-learning ต้องเตรียมการในสิ่งต่าง ๆ ได้แก่

1. ทีมงาน

2. สื่อที่ใช้ใน e-learning

3. การจัดการ ในองค์ประกอบของ e-Learning

4. การเตรียมการ ในการเรียนการสอนแบบ e-Learning

1. ทีมงานในการจัดทำ e-learning

ต้องมีทีม(Team)ในการทำงาน ซึ่งจะประกอบด้วยกลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญนี้จะประกอบด้วย

- ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา คือผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหาของบทเรียน หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในการกำหนดเป้าหมาย และทิศทางของหลักสูตร

-ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอนในรายวิชานั้นๆ ควรจะมีความสามารถในการจัดลำดับความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา รู้เทคนิค และวิธีการในการนำเสนอ การสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมถึงการวัดผล



-ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบการแสดงผลการเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้น และดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

-ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ จากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อที่ออกแบบไว้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา กับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนอาจจะเป็นคนเดียวกันได้ เพราะอาจารย์จะมีความเข้าใจในเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างดี อีกทั้งยังสอนอยู่เป็นประจำมีเทคนิคการสอนที่ดีอยู่แล้ว และผู้เชี่ยวชาญ ด้านสื่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจเป็นคนเดียวกันได้ เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อหรือนักเทคโนโลยีการศึกษาจะมีความรู้ในด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้

2. กลุ่มผู้ออกแบบและสร้างบทเรียน

เป็นผู้ที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์กิจกรรม ซึ่งกลุ่ม ดังกล่าวนี้ จะวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม และความสัมพันธ์กันระหว่างเนื้อหาที่ออกแบบกับวุฒิภาวะของผู้เรียน กลุ่มดังกล่าวนี้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อ และผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือรวมกันในตัวคนเดียวกันเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาก็ได้เช่นกัน

3. ผู้บริหารโครงการ

ทำหน้าที่จัดการ และบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจน ควบคุมงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้



2. สื่อที่ใช้ ใน e-Learning

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ใน e-Learning มีหลายรูปแบบดังนี้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ เป็นสื่อที่พัฒนาด้วยโปรแกรมประเภท Authoring เช่น โปรแกรม Toolbook โปรแกรม Drector และโปรแกรมAuthorwareนำมาใช้บนเว็บโดยผ่านกระบวนการบีบอัดหรือการกระจายให้เป็นแฟ้มขนาดเล็กหลายแฟ้มด้วยโปรแกรมเฉพาะที่แต่ละบริษัทพัฒนาขึ้น เพื่อให้ใช้งานบนเว็บได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต้องรอการส่งแฟ้มเป็นเวลานานและทำให้สะดวกต่อการส่งข้อมูลออนไลน์ที่เรียกใช้งานบนเว็บแล้วแสดงผลได้ทันทีเหมือนเรียกจากแผ่นซีดี

สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่พัฒนาด้วยโปรแกรมบนวินโดว์ และให้เรียกดูผ่านเว็บ หรือแปลงเป็นแฟ้มที่เรียกดูได้บนเว็บ นิยมใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ในการพัฒนาสื่อลักษณะนี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่มีรูปเล่มและองค์ประกอบของเล่มหนังสือครบถ้วน เป็นสื่อที่นิยมจัดทำให้อยู่ในรูปของแฟ้มในสกุล pdf และใช้โปรกรม Acrobat Reader ของบริษัท Adobe ในการอ่าน

แผ่นใสอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจัดทำสื่อให้อยู่ในรูปแผ่นใส หรือเอกสารประกอบการสอนอื่นๆ ให้อยู่ในรูปของแฟ้มในสกุล pdf โดยการสแกนหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแฟ้มอกสาร

เอกสารคำสอนอิเล็กทรอนิกส์ (Lecture note) อาจจัดทำให้อยู่ในรูปเอกสารในสกุล doc หรือ pdf หรือ html และเรียกดูด้วยโปรแกรมที่ใช้เรียกดูแฟ้มในสกุลอื่นๆ

เทปเสียงคำสอนดิจิทัล จัดทำโดยใช้เทคโนโลยี RealAudio เพื่อให้เรียกฟังเสียงในลักษณะรับฟังได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

วีดีโอเทปดิจิทัล จัดทำโดยใช้เทคโนโลยี RealVedio เพื่อให้เรียกภาพวีดีโอในลักษณะเรียกชมได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

เอกสารไฮเปอร์เท็กและไฮเปอร์มิเดียเป็นสื่อที่จัดทำโดยใช้ภาษา HTML โปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจ ทั้งที่จัดทำเองและผู้อื่นจัดทำแล้วเชื่อมโยงไปยังแหล่งนั้น แหล่ง รวมโฮมเพจรายวิชาในเว็บแห่งหนึ่งที่รวบรวมโฮมเพจรายวิชาในที่ที่ต่างๆ ทั่วโลกคือ World Lecture Hall มีเว็บไซต์ชื่อhttp://WWW.utexas.edu/world/lecture/

วารสารและนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่มีองค์กรจัดทำและเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต มีทั้งที่ต้องสมัครเป็นสมาชิก และให้บริการเป็นสาธารณะ

3. การจัดการ ในองค์ประกอบ e-Learning

E-Learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีเพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันอย่างลงตัว

1. เนื้อหาของบทเรียน อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าเป็นการศึกษาแล้ว เนื้อหาก็ต้องถือว่าสำคัญที่สุด ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาให้เป็นแบบ e-Learning ก็จะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาเป็นอันดับแรก

2. ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผลในแต่ละบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการแก่ผู้เรียน LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จัดหลักสูตร เมื่อผู้เรียนเริ่มต้นบทเรียน ระบบจะเริ่มทำงาน โดยส่งบทเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานกิจกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร

3. การติดต่อสื่อสาร ความโดดเด่นและความแตกต่างของ e-Learning กับการเรียนทางไกลแบบทั่วๆไป ก็การนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง(Two-way communication) มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อสร้างความน่าสนใจ และความตื่นตัวของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่างบทเรียน ก็อาจจะมีแบบฝึดหัดเป็นคำถาม เพื่อเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียนก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะแบบนี้จะทำให้การเรียนรักษาระบบความน่าสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงสำคัญ อีกประการของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทดังนี้

ประเภท Synchronous ได้แก่ Chat (message, voice), White board/Text slide, Real-time Annotations, Interactive poll, Conferencing และ อื่นๆ

ประเภท Asynchronous ได้แก่ กระดานข่าว, อีเมล์ เป็นต้น

4. การสอบ/วัดผลการเรียน เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่า จะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผล การเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ แต่รูปแบบก็อาจจะแตกต่างกันไป กล่าวคือ ในบางวิชาต้องมีการวัดระดับความรู้(Pre-test) ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียน ในแต่ละหลักสูตรแล้วควรก็จะมี การสอบย่อยท้ายบท และการสอบใหญ่ ก่อนที่จะจบหลักสูตรเพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพในการเรียน ซึ่งการสอบใหญ่นี้ ระบบบริหารการเรียนจะใช้ข้อสอบที่มาจากระบบบริหารคลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน (LMS : e-Learning Management System) สำหรับระบบบริหารคลังข้อสอบนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ เป็นตัวอย่าง

- สามารถทำการสอบออนไลน์ผ่าน Web browser ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการประเมินผลและสามารถในบริการได้อย่างครบวงจร

- สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ เพื่อให้มีลักษณะเดียวกันกับบทเรียน ที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานรวมถึงการตอบโต้ในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางหน้าจอ

- การรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการรับ-ส่งข้อสอบ เนื่องจากการดำเนินการต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการสอบเป็นข้อมูลส่วนตัวสำหรับบุคคล



4. การเตรียมการ ในการเรียนการสอนแบบ e-Learning

เมื่อเราได้ทราบว่ากระบวนการจัดทำe-Learning ประกอบด้วยกลุ่มใดแล้ว ก็ต้องมีการเตรียมระบบ การเรียนการสอนด้วย ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวว่าระบบการเรียนการสอนที่ดีนั้น จะต้องสร้างสถานการณ์ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ 6 ประการ นั่นคือ

1. จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ ให้มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ทางการรับรู้ของผู้เรียน (Gradual approximation) ด้วย e-Learning ผู้เรียนจะสามารถจัดแบ่งเวลาและเนื้อหา และการเรียกดูข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนตามความต้องการของตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับรู้ และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

2. ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง(Self Learning) ในe-Learning ควรจะทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงานให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ ให้ทำเพื่อเป็นการประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้

3. เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ผู้เรียนอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ฉะนั้นในการออกแบบ e-Learning จึงควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็น Interactive เพื่อทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา

4. เตรียมระบบที่ผู้เรียนสามารถรับทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำโดยทันทีที่งานเสร็จจากการเฉลยคำตอบ จากการประเมินผล Online ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจมากขึ้น

5. เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนที่ดี และมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อประเมินความสามารถและทักษะของผู้เรียน เพื่อเลือกระดับของเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน

6. เตรียมแรงเสริมในทางบวก(Positive Reinforcement) ให้กับผู้เรียนด้วยการแสดงข้อความหรือเสียงชมเชย และหลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ล้มเหลว

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยที่ทำให้การศึกษาเปิดกว้างกระจายไปได้กว้างไกล นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีในเว็บได้สร้างหนทางของการประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนามัลติมีเดียบนเว็บ ทำให้สามารถแสดงผลเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์โดยการเรียนรู้ร่วมกัน

ข้อดีข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ

ข้อดี

• เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล

• ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน

• ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน

• ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี

• ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือเช่นE-Mail ,Web board ,Chat ,Newsgroup)แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

• เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา

ข้อเสีย

• ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน

• ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง

• ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน

• ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

ประโยชน์ของ E-learning

e-learning ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. E-Learning ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนร่วมกัน การเสริมแรงในการเรียนรู้เนื้อหา การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การเรียนรู้อย่างมีปฎิสัมพันธ์ การเรียนรู้เนื้อหาที่นำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย เป็นการเรียนทางไกลที่ไร้ระยะทาง

2. E-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนนั้นเมื่อมีความสะดวก ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามก้าวจังหวะของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นผู้เรียนที่ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับ

3. E-Learning จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษาและอื่นๆ การเรียนรู้เน้นการแสวงหาและการรู้จักเลือกข้อมูลเพื่อการเสริมเติมแต่งความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อหรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้การเชื่อมต่อถึงกันผ่านระบบเครือข่าย ทำให้มีช่องทางของการติดต่อระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้อีกด้วย







ประเทศไทยกับ E-Learning

ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังไม่ได้มีการนำ e-Learning เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ เหมือนต่างประเทศ ในต่างประเทศ เช่น ออกฟอร์ด ของอังกฤษ และ แสตมฟอร์ด ของอเมริกา ได้มีการจัดการ ศึกษาทางไกล (Distance learning) ที่ได้ออกวุฒิบัตร (ปริญญา) มีสิทธิและศักดิ์เทียบเท่ากับ ผู้ที่เรียนในระบบปรกติ อันที่จริงแล้ว ประเทศไทยได้มีการพัฒนา E-learning มานานแล้ว แต่ผู้บริหารระดับสูงยังไม่ได้เห็นความสำคัญเท่าที่ควร จนกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบันดังจะเห็นได้จาก นโยบายของรัฐบาลด้านเทคโนโลยี จาก \"แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2445 -2549\" เพื่อเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์หลัก กลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานในช่วง 5 ปีแรก โดยมีขอบเขตครอบคลุมยุทธศาสตร์สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่

(1) การบริหารงานของรัฐบาล (e-Government)

(2) พานิชกรรม (e-Commerce)

(3) อุตสาหกรรม (e-Industry)

(4) ด้านการศึกษา (e-Education)

(5) ด้านสังคม (e-Society)

มาตรการและแนวทางด้านการศึกษา (e-Education) มีดังนี้

- ยกระดับครูให้มีทักษะด้านไอที (Teachers\' Training)

- เร่งผลิตฐานความรู้(Content Development)

- สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการที่ดี(Networking)

- สนับสนุนการใช้ไอทีเพื่อยกระดับความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและส่งเสริมอุตสาหกรรมไอทีของไทย

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

• ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย

เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่

• ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน

• ความพร้อมของผู้เรียน

ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ

• ความพร้อมของผู้สอน

ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มเาป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

• เนื้อหา บทเรียน

เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

การวิเคราะห์สถานการณ์ในการพัฒนา e-Learning ขององค์กรในประเทศไทย

จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weakness)

- การขยายตัวของผู้ประกอบการ - ขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเครือข่าย

- ความตื่นตัวทางด้านการพัฒนาบุคลากร - เทคโนโลยีมีอยู่ในองค์กร

- วิสัยทัศน์ของผู้นำในองค์กร - ขาดข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูล

- ภาครัฐบาลให้การสนับสนุน - ขาดกลไกในการในการฝึกอบรมและ

หลักสูตรต่อเนื่อง

โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats)

- ทัศนคติที่ดีของผู้นำ - ระดับพื้นฐานการศึกษาของบุคคลากร

- การปรับฐานองค์กรเข้าสู่องค์กร - กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อระบบ e-Learning

แห่งการเรียนรู้ - ความตกต่ำและความผันผวนของ

- นโยบายชัดเจนในการนำ e-Learning สภาพเศรษฐกิจ

มาใช้ในการพัฒนาบุคคลกร

ปัญหาการพัฒนา e-Learning ในประเทศไทย

การพัฒนา e-Learning ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

• ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร

• ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี e-Learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

• ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ และการลิขสิทธิ์

• ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้, การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน

• ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา, ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์

• ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม

• ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการพัฒนาเว็บภาษาไทย ทั้งการเข้ารหัส, การใช้ฟอนต์ และรูปแบบ

• ปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดทำระบบประเมินผล

ข้อเสนอแนะในการพัฒนา e - learning

จากข้อมูล ต่าง ๆ ข้างต้นที่นำเสนอมา เห็นได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ ในการจัดทำ e - learning จะต้องใช้เวลา และบุคลากรจำนวนมาก และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสนใจ และทุ่มเทอย่างมากในการดำเนินการ

ดังนั้นจึงเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะจัดทำ e - learning ให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงขอเสนอแนวทางในการจัดทำ โดยรัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนดำเนินการอย่างจริงจังคือ

1. ต้องกำหนดความหมายของคำว่า e - learning ให้ชัดเจน ให้คนทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกัน

2. วางกรอบของการทำ e - learning อย่างกว้าง ๆ คือกำหนดแนวทาง วิธีการเรียน การสอน การสอบ ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการยอมรับในความสามารถของผู้เรียน

3. ให้การสนับสนุนสถาบันการศึกษาในทุกระดับ โดยการให้สถานศึกษาเสนอโครงการที่ชัดเจน และรัฐพิจารณาให้ทุนดำเนินการ



เข้าสู่ระบบUsername





Password





Remember Me





Forgot your password?

Forgot your username?

Create an account



เวบลิงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น